Tags

Related Posts

Share This

OFF LABEL

Font Size » Large | Small


<

    “คุณกินยาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?”

<

<

<

<
<

Off-Label เป็นหนังสารคดีมีสาระแต่ดูไม่เบื่อ น่าติดตาม เข้าใจง่าย ไม่ต้องกลัว ว่ามันจะโคตรวิชาการเหมือนอ่านพวกวารสารทางการแพทย์ แต่ก่อนที่คุณจะดู เราขอให้คุณนึกถึงคำว่า “พหูสูตร”เอาไว้ก่อน เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ และคุณก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือไม่เชื่อโดยทันทีที่ดูหนังจบหรอก

Off-Label” ในทางการแพทย์ ก็คือการใช้ยานอกข้อบ่งใช้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต มีการ off label use ยา Bevacizumab ในการรักษาโรคจอตาเสื่อม อธิบายให้เข้าใจง่ายๆก่อนว่า เดิมที….

Bevacizumab (เรียกสั้นๆว่า Beva) ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยารักษามะเร็ง
Ranibizumab (เรียกสั้นๆว่า Rani) ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาโรคจอตาเสื่อม

ย้อนกลับไปในช่วงหลายปีก่อน มีข้อมูลว่า Beva ถูก Off-label โดยการแบ่งยาจากหน่วยบรรจุใหญ่ มาฉีดเข้าวุ้นตาแล้วได้ผลดี ในราคาเพียง 1000 บาท/เข็ม แต่ยังมีข้อถกเถียงและไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน ณ ตอนนั้น หลายประเทศจึงยังไม่ขึ้นทะเบียน Beva สำหรับรักษาโรคดังกล่าว ในขณะที่ Rani ซึ่งถูกขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาโรคจอตาเสื่อมโดยตรง มีราคา 54000 บาท/เข็ม (ซึ่งคนไข้อาจต้องฉีดมากกว่า1 ครั้ง) ซึ่งในมุมมองของบริษัทยา มองว่า การจะเอาความปลอดภัยของคนไข้ไปเสี่ยงกับการ Off-label เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ มันมีประเด็นอีกมากมายที่ต้องคำนึงในการนำมาใช้ …..อะไรประมาณนี้

….หนังสารคดีเรื่องนี้ จะพาคุณไปพูดคุยกับ “หนูทดลองยา” ทั้ง 8 ชีวิตทั่วอเมริกา  ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ช่วงเวลาที่ไม่ต้องเข้ารับยา เค้าทำอะไรกันบ้าง เค้าคิดกับโครงการวิจัยทางการแพทย์ยังไง ผลข้างเคียงจากการทดสอบยาเป็นยังไง มันเป็นโลกอีกโลกนึงที่คนทั่วไปอย่างเราไม่รู้จัก  บางคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ พวกเค้าเข้าร่วมวิจัยทดลองยา  โดยได้รับเงินค่าจ้างที่มากพอสมควร มากพอที่จะไม่ต้องทำงานอื่นก็ได้ แค่ใช้เงินที่ได้ไปวันๆ รอเรียกตัวไปทดสอบยาเท่านั้น คนรอบข้างหวาดกลัวพวกเค้า นึกว่าเป็นพวกขี้ยาเพราะเห็นรอยเข็มทั่วตัว

ใครจะไปรู้ กว่าจะได้เข้าโครงการ ต้องผ่านการทดสอบร่างกายอย่างละเอียด ต้องใช้ชีวิตประจำวันโดยมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากมาย ซึ่งนั่นถือเป็นสิ่งต้องทำเพื่อผลวิจัยที่ถูกต้อง มันก็มีหลายคนที่อยากเป็นหนูทดลองใจจะขาด ต้องโกหกว่าสุขภาพดีไม่เคยสูบบุหรี่ ทั้งที่อัดวันละหลายมวน ขืนพูดความจริงก็อดได้รับเลือกกันพอดี แต่บางคน ไม่ได้อยากเป็นหนูทดลอง พวกเค้าป่วยจริง แต่ก็ยอมเป็นเพราะหวังว่าจะได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา  การตายของแดน (หนึ่งในหนูทดลองยาที่เสียชีวิตไปแล้วจากการฆ่าตัวตาย) เป็นที่น่าสะเทือนใจ แม่ของแดนเชื่อว่า ลูกชายฆ่าตัวตายเพราะผลข้างเคียงของการรับการทดลองยารักษาทางจิตเวช  หลังจากการตายไม่นาน แม่ของแดนผลักดัน “กฏหมายแดน” สำเร็จ เพื่อไม่ให้มันเกิดกับใครอีก

หนังอยากให้เราตระหนักว่า ยา คือสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิตผู้คน มันใกล้ตัวผูกพันกับเราตลอดเวลา เราควรรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ หรือ ใครบ้างไม่ต้องกินยา ? เราต่างก้มหน้าก้มตาหาเงินให้ได้เยอะๆ เพื่อซื้อสุขภาพที่ดี ซื้อยาดีๆ แพงๆ หาเงินเอาไว้ใช้ไปตายที่โรงพยาบาลเหมือนกัน  มันก็มีคนบางส่วนเวลาป่วยไม่ยอมกินยา เพราะรู้ว่ากินยามากๆไม่ดี ความคิดดี แต่อะไรคือการไม่ยอมกินยา แล้วยังไม่ยอมดูแลบำรุงตัวเอง ปล่อยให้เป็นหวัดเรื้อรังทั้งปี เดินขากเสลดหรือไอไปทั่ว แพร่เชื้อให้คนอื่น แล้วก็หวังว่าพรุ่งนี้ตัวเองตื่นขึ้นมา คงจะหายดีไปเอง

อย่างที่บอกว่าเหรียญมีสองด้าน
ยาที่ดีน่ะมี แต่คุณจะมีโอกาสได้ใช้มันรึเปล่าเท่านั้นเอง…

Pattrawadee Tanaluk

Jun 25, 2017

Share Button