Tags

Related Posts

Share This

Gasland

Font Size » Large | Small


 ผมเคยได้ยินคุณให้สัมภาษณ์ว่า คุุณจะพยายามให้ระบบขุดเจาะก๊าซใต้ดินแบบนี้ กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แต่ล่าสุดนี้ คุณกลับบอกว่า…..มัทำไม่ได้ >>>>>>>>>>

 >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

“ต้นทุนต่ำ กำไรสูง…ประชาชนมีเฮ…..ราคา LPG ต่ำลงเป็นประวัติการณ์ “
“เทียบกับสงครามแย่งชิงน้ำมันแล้ว …ไฟฟ้าที่ได้จากก๊าซธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”
“จีนเร่งค้นหา เร่งลงทุนอย่างหนัก พยายามทุกวิถีทางในการสำรองก๊าซ”
“คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติคือ…..เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

 จริงหรือ ?

Josh Fox  ชาวบ้านธรรมดาในรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้รับจดหมายจากบริษัทขุดเจาะก๊าซ ยื่นข้อเสนอเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการขุดเจาะก๊าซในที่ดินที่อุดมไปด้วยหินดินดาน( Marcellus Shale) แต่ด้วยความหวงแหนมรดกตกทอดชิ้นนี้ เขาลังเลและอยากรู้อยากเห็นว่า Hydraulic  Fracturing มันคืออะไร ทำไมวิธีการขุดเจาะแบบนี้ได้รับการยกเว้นออกจาก พรบ.ควบคุมมลพิษ  จึงค้นคว้าหาข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามันจะมีผลกระทบกับ Delaware แม่น้ำที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน

Josh นึกย้อนกลับไปตอนที่ Dick Cheney อดีตรองประธานาธิบดีรัฐบาลของจอร์ช บุช  ได้มีการผลักดันให้วิธีขุดเจาะได้รับการยกเว้นจาก พรบ.ควบคุมมลพิษทั้งในน้ำและอากาศ หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายก็เดินหน้าใช้วิธีนี้ขุดเจาะก๊าซจากแหล่งพลังงานในประเทศอมเริกา  แถม Dick ก็ยังเป็นประธานบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซชื่อ Halliburton อีกด้วย ความไม่ชอบมาพากล ทำให้ Josh Fox ตัดสินใจปฏิเสธเงินก้อนโตพร้อมเดินหน้าเปิดโปงธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนไขว้หุ้นกันอย่างมโหฬารโดยมีหายนะของโลกเป็นเดิมพัน  

เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยลดการสูญเสียหน้าดินจากวิธีเก่า เรียกว่า ”  Hydraulic Fracturing ”  หรือเรียกสั้นๆว่า ” Fracking “
วิธีการคือ….ขุดเจาะลงไปใต้ดินแนวดิ่งก่อน เมื่อเจาะถึงชั้นหินดินดานก็เปลี่ยนทิศทางการเจาะเป็นแนวนอน พูดง่ายๆ เจาะให้เป็นรูปตัว ” L”  จากนั้นก็ส่งน้ำแรงดันสูงนับล้านแกลลอนลงไประเบิดชั้นหินที่แน่นแข็งให้เกิดรอยร้าว ขั้นตอนสุดท้ายคือการส่ง “ค็อกเทลเคมี “ ที่ได้จากการผสมน้ำ+ทราย+สารเคมี 596 ชนิด ลงไปทำละลายก๊าชในเนื้อหินออกมาแล้วสูบย้อนเอาก๊าซกลับขึ้นไปใช้  แร่ธาตุที่ใช้เวลาก่อตัวทับถมล้านปี ถูกทำลายลงในเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง

           ไอ้ช่วงสูบขึ้นสูบลงที่ต้องไหลผ่านชั้นดินชั้นแรกที่ผู้คนใช้อุปโภคบริโภคเนี่ยแหละ   ที่มันปนเปื้อนแทรกซึมเข้ามา เฉพาะก๊าซมีเทนอย่างเดียวก็น่ากลัวเหลือเกินแล้ว ติดไฟง่าย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็น แต่ไหลเข้าแทนที่ออกซิเจน ที่ไหนมีช่องว่าง ก๊าซนี้จะไหลเข้าไปแทนที่หมด น้ำหนักของมันเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นสู่ที่สูงทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ….ก๊าซมีเทน  ที่เคยแข็งตัวนอนจำศีลอยู่ใต้พิภพ วันนี้ลอยขึ้นมาปะปนในน้ำดื่มน้ำใช้กันแล้ว และจะยังคงอยู่ในบรรยากาศอย่างนั้นไปอีกหลายสิบ    หลายร้อยปี

วิดิโอจำลองขั้นตอน hydraulic fracturing

fdsgfdsfsfsdfs-horz

Josh ขับรถไปทั่ว 34 รัฐ เพื่อเก็บข้อมูลจากชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านบอกว่าก่อนหน้าที่บริษัทจะพากันแห่เข้ามาในพื้นที่ น้ำสะอาดมาตลอดชีวิต

ถ้าใครเคยดูหนังสารคดี GASLAND จะเห็นเลยว่า แมว ม้า ขนหลุดร่วง นกตายเป็นเบือ คนละแวกบ้านเจ็บป่วยด้วยอาการเดียวกัน  น้ำประปา น้ำบาดาลเปลี่ยนสี มีกลิ่นสารเคมีจนผงะหน้าหนีแทบไม่ทัน เพียงแค่เปิดก๊อกน้ำแล้วเอาไฟแช็คไปจ่อที่ก๊อก ก็ติดไฟอย่างรวดเร็ว  ชาวบ้าน เคยร้องเรียนบริษัทและทางการกันมาหลายครั้งแล้วแต่พวกเขาก็เอาแต่บอกว่ามันไม่มีปัญหา แต่พอท้าให้ดื่ม กลับไม่ยอมดื่ม ไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อสารเคมี 596 ชนิดว่ามีอะไรบ้าง  Josh Fox ไม่ใช่คนแรกที่ค้นพบอันตรายของวิธีขุดเจาะนี้ นักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชาวบ้าน รู้กันมานานแล้ว แต่ Josh คือคนที่นำข้อมูลที่ได้รับการค้นคว้าแล้ว มาตีแผ่ในหนังจน GASLAND ได้รับการเข้าเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์      

” คุณคิดว่ามูลค่าแร่ธาตุที่ใช้เวลาก่อตัวนับล้านๆปี มีค่าเท่าไหร่ ? “
“ก็ดี….. คงไม่ต้องการไฟฟ้าใช้แล้วสินะ 
“พวกเราไม่สามารถขอความชัดเจนได้จากบริษัทขุดเจาะที่ “กำลังเร่ง” ตรวจสอบมามากกว่า 5ปีแล้ว”
“เพราะพวกคุณใช้พลังงานกันอย่างสิ้นเปลือง พวกเราถึงต้องเร่งผลิตให้พอใช้ จริงไหม? 
” มาเลเซียตัดสินใจเสี่ยงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์แทนการขุดก๊าซใต้ดินเพื่ออนุรักษ์มรดกแห่งชาติเอาไว้”
“มหาอำนาจของโลกกำลังสะสมก๊าซธรรมชาติแข่งกันเพื่อแสดงแสนยานุภาพแทนการสะสมนิวเคลียร์และกองทัพทหาร”
พวกเขาเอาแต่ invest ไม่เคย investigate อย่างจริงใจ
ดูตัวอย่างหนัง

<

Pattrawadee Tanaluk

Published : Jul 13, 2012

ภัทราวดี ทนาลักษณ์

<

<ก

<

Share Button